วัตถุประสงค์กิจกรรม
- เพื่อเปิดโอกาสให้เยาวชนได้เพิ่มพูนความรู้ทางกฎหมายและนำไปใช้ได้อย่างถูกต้อง
- เพื่อให้เกิดกระบวนการเรียนรู้ในด้านวิชาการและวิชาชีพไปพร้อมกับการพัฒนาความรู้ทางด้านกฎหมายแก่ชุมชน
คุณสมบัติผู้เข้าแข่งขัน
เป็นนักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย หรือ ปวช.
ข้อกำหนด/เงื่อนไข
- ผู้เข้าแข่งขันจะต้องเป็นนักเรียนกำลังศึกษาในระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย หรือ ปวช. โดยสามารถส่งตัวแทนโรงเรียน
เข้าแข่งขันได้โรงเรียนละไม่เกิน 2 ทีม ทีมละ 3 คน
- การแข่งขันมีเพียงรอบเดียว จำนวนคำถามปรนัย 10 ข้อ 4 ตัวเลือก โดยขอบข่ายเนื้อหาที่ใช้ในการแข่งขัน คือ
-กฎหมายแพ่งและพาณิชย์ 3 ข้อ
- กฎหมายอาญา 3 ข้อ
-กฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง 1 ข้อ
- กฎหมายพิเศษ 3 ข้อ (กฎหมายทรัพย์สินทางปัญญา,กฎหมายการค้าระหว่าประเทศ, กฎหมายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล)
- พิธีกรจะอ่านคำถามข้อละ 1 ครั้ง และให้เวลาในการตอบคำถามข้อละ 1 นาที
- หลังจากทำข้อสอบครบทั้ง 10 ข้อ จะประกาศผลคะแนนรวม ทีมมีคะแนนรวมสูงสุด 3 ทีม จะได้รับรางวัลที่ 1, 2 และ 3 ตามลำดับ ในกรณีที่มีทีมซึ่งได้คะแนนรวมสูงสุดเกินกว่า 3 ทีม กรรมการจะใช้คำถามสำรองแบบอัตนัยตัดสิน
- หากผู้เข้าแข่งขันไม่สามารถมาทันการลงทะเบียนระหว่าง เวลา 08.00 - 09.00 น. จะถูกตัดสิทธิออกจากการแข่งขัน
วัน/เวลา และสถานที่ประกวด/แข่งขัน
วันเสาร์ที่ 16 พฤศจิกายน 2567 เวลา 09.00 – 12.00 น. ณ ห้องประชุมนายแพทย์สุรีย์ ฤกษ์นิมิตร ชั้น 5 วิทยาลัยสันตพล
รางวัล
- รางวัลชนะเลิศ เงินรางวัล 3,000 บาท และโล่รางวัลจาก ฯพณฯ พลเอกพิจิตร กุลละวณิชย์ อดีตองคมนตรีในรัชกาลที่ 9 และนายกสภาวิทยาลัยสันตพล พร้อมเกียรติบัตรจากผู้ว่าราชการจังหวัดอุดรธานี
- รางวัลรองชนะเลิศอันดับที่ 1 เงินรางวัล 2,000 บาท พร้อมเกียรติบัตรจากผู้ว่าราชการจังหวัดอุดรธานี
- รางวัลรองชนะเลิศอันดับที่ 2 เงินรางวัล 1,000 บาท พร้อมเกียรติบัตรจากผู้ว่าราชการจังหวัดอุดรธานี
เกณฑ์การตัดสิน (ผลการตัดสินจากกรรมการถือเป็นที่สิ้นสุด)
- ทีมเข้าแข่งขันที่ทำคะแนนได้สูงสุดเป็นผู้ชนะเลิศ ได้รับรางวัลชนะเลิศ
- ทีมเข้าแข่งขันที่ทำคะแนนได้สูงสุดเป็นอันดับที่ 2 ได้รับรางวัลรองชนะเลิศอันดับ 1
- ทีมเข้าแข่งขันที่ทำคะแนนได้สูงสุดเป็นอันดับที่ 3 ได้รับรางวัลรองชนะเลิศอันดับ 2
สมัครแข่งขันได้ที่